รีวิว ที่พัก

การออกแบบบ้านให้น่าอยู่มากขึ้น เพิ่มความอบอุ่นให้บ้าน

การออกแบบบ้าน เชื่อว่าทุกคนที่ต้องการสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยในปัจจุบัน และ คำนึงไปจนถึงอนาคต ใครๆ ก็อยากได้บ้านที่ดี สวยงาม มีฮวงจุ้ยที่ดีช่วยเสริมดวงแก่ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านกันทั้งนั้น เพื่อนๆ อาจจะคิดว่าเมื่อมีทุนแล้ว การจะสร้างบ้านขึ้นมาหลังหนึ่งมันไม่ง่ายเลย เพราะไม่รู้จะเริ่มจากอะไร และออกแบบยังไงดี

วันนี้เราจะมาแนะนำการสร้างบ้าน ออกแบบบ้านที่น่าอยู่มาฝากทุกคนกัน และอาจจะทำให้หลายคนเปลี่ยนความคิดที่ว่ายากไปเป็นง่ายดายซะเหลือเกินก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นอย่ารอช้าไปเริ่มอันดับแรกกันเลย

การออกแบบบ้าน ให้น่าอยู่มากขึ้น เพิ่มความอบอุ่นให้บ้าน

การออกแบบบ้านให้น่าอยู่มากขึ้น

การออกแบบบ้านที่ดี และ มีประสิทธิภาพต้องทำอย่างไร พิจารณาอะไรบ้าง ใครอยากรู้ตามมาดูการออกแบบบ้านเองให้เป๊ะปังแบบไม่ง้อมืออาชีพกันได้เลย

ออกแบบบ้านเอง ให้สวยตรงใจ ใช้งานได้จริง หลักเบื้องต้นที่ควรรู้ก่อนลงมือ

สำหรับคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์การออกแบบบ้าน และ แปลนบ้านถือเป็นเรื่องยากมาก เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานแล้ว ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่น่าปวดหัวอีกต่างหาก ดังนั้นสำหรับคนที่กำลังจะออกแบบบ้านด้วยตัวเองและกำลังมองหาแรงบันดาลใจอยู่ เคล็ดลับการออกแบบบ้านอย่างมีประสิทธิภาพมาฝาก รับรองรู้ไว้ช่วยให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นได้ แถมต้องได้บ้านที่สวยงามตรงตามใจแน่นอน

  • เลือกประเภทที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับสมาชิก

ไม่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะต้องการบ้านขนาดใหญ่ และก็ไม่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะเหมาะกับบ้านขนาดเล็ก ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดก่อนจะออกแบบบ้าน คือ การเลือกประเภทที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโด โดยลองพิจารณาดูว่า ควรจะพื้นที่เท่าไรถึงจะเข้ากับไลฟ์สไตล์ของทุกคน เพื่อนำไปคำนวนต่อว่าภายในที่พักอาศัยของเราควรมีห้องนอนเท่าไร ห้องน้ำเท่าไร และเพิ่มเติมส่วนไหนบ้าง

  • ให้ความสำคัญกับเลเอาต์เป็นอันดับแรก 

หลักจากเลือกประเภทที่อาศัยได้แล้ว ควรให้ความสำคัญกับแปลนบ้านก่อนการตกแต่ง เพราะแม้บ้านจะสวยงาม แต่ถ้าหากไม่ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันก็เปล่าประโยชน์ ดังนั้นใครที่กำลังจะออกแบบบ้านแล้วละก็ ควรออกแบบแปลนบ้านให้เสร็จก่อน

โดยพิจารณาว่าจะวางตำแหน่งแต่ละห้องอย่างไร ระหว่างพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ส่วนตัว อยู่ติดกันได้หรือแยกคนละโซนไปเลนดีกว่า เพื่อป้องกันเสียงรบกวน หรือห้องนั่งเล่น ห้องกินข้าว ห้องครัว กั้นผนังดีไหม หรือออกแบบแบบ Open Plan ดีกว่า

  • ตกแต่งให้สอดคล้องกับพื้นที่ 

หลังจากเลือกแปลนบ้านที่ต้องการได้แล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการตกแต่ง ซึ่งควรเลือกให้สอดคล้องไปกับพื้นที่ ขนาด และการจัดวางแปลนบ้าน เช่น หากภายในบ้านค่อนข้างเล็ก ควรเลือกการตกแต่งสไตล์โมเดิร์น เพราะทั้งโทนสีและการออกแบบในสไตล์นี้จะช่วยให้ภายในบ้านดูกว้างขวาง สว่าง บรรรยากาศปลอดโปร่ง มากกว่าสไตล์เทรดิชันนอลหรือบ้านแบบดั้งเดิม ที่มักจะใช้ผนังกั้นห้องแบ่งพื้นที่ ซึ่งจะทำให้บ้านที่มีขนาดเล็กอยู่แล้วยิ่งดูแคบลง 

  • คำนึงถึงข้อดี-ข้อเสียของแต่ละจุด 

เมื่อได้แบบบ้านที่ถูกใจแล้ว ก็อย่าเพิ่งลงมือทันที ลองพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสียของแต่ละจุดสักรอบ เช่น หากเป็นคนชอบหน้าต่างบานใหญ่ ๆ เพราะอยากให้บ้านสว่างและมองเห็นวิวด้านนอกแล้ว อย่าลืมดูด้วยว่าตรงกับทิศแดดหรือไม่ แดดเข้าช่วงไหน ไม่อย่างนั้นก็จะทำให้บ้านร้อน อาจจะต้องติดกันสาดหรือเปลี่ยนผ้าม่านแบบกันความร้อน

  • ตั้งงบประมาณให้ชัดเจน 

อีกหนึ่งปัญหาการตกแต่งบ้านที่หลายคนมักจะเจอก็คือ ซื้อของเข้าบ้านเพลินจนเกินไปงบ เพราะอยากได้ไปหมดทุกอย่าง ยิ่งหาก็ยิ่งเจอของที่ถูกใจ ฉะนั้นควรตั้งงบประมาณที่จะใช้ให้ชัดเจนและพยายามควบคุมให้อยู่ในวงเงินที่กำหนดเอาไว้ ป้องกันไม่ให้งบบานปลาย หรือ เกินได้นิดหน่อยแต่ไม่มากจนเกินไป ที่สำคัญอย่าลืมทำบัญชีเอาไว้ด้วย จะได้รู้ว่าใช้จ่ายกับอะไรไปบ้าง และสามารถลดตรงไหนช่วยประหยัดได้อีก 

  • ถามความเห็นจากผู้รู้ 

ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาที่จะตามมาภายหลัง ควรปรึกษาหรือถามความเห็นจากคนที่อยู่แวดวงการออกแบบ อาจจะเป็นคนรู้จักที่มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญอย่าง สถาปนิกหรืออินทีเรียเพิ่มเติมด้วย เพราะพวกเขาเหล่านี้มีความรู้ความในเชิงลึก สามารถให้คำปรึกษาได้รอบด้าน รวมถึงการปรับและแก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ เพื่อให้บ้านเหมาะสมกับเราและน่าอยู่ยิ่งขึ้น

  • เชื่อสัญชาตญาณตัวเองบ้าง 

เพราะการออกแบบบ้านไม่มีผิด ไม่มีถูก ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือความเหมาะสม และ ความต้องการ นอกจากวิธีการออกแบบที่กล่าวมาแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำตามเป๊ะ ๆ ทุกข้อ บางอย่างอาจจะดูนอกกรอบไปบ้าง แต่ถ้าลองพิจารณาดูแล้วว่าเป็นสิ่งที่เราชอบ และ เข้ากับลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน ให้เชื่อสัญชาตญาณและทำตามความต้องการของตัวเองบ้าน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ถ้ารู้สึกว่าใช่ ก็คือใช่ ไม่จำเป็นต้องอิงตามใคร ตามตำราปลูกเรือนตามใจผู้อยู่นั่นเอง

การออกแบบบ้าน การสร้างบ้าน

สร้างบ้าน ออกแบบบ้านให้น่าอยู่
  • การเลือกสไตล์การออกแบบบ้านให้ชัดเจน เป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับการออกแบบบ้านขึ้นมาหนึ่งหลัง เราต้องกำหนดสไตล์ของบ้านให้ชัดเจนและให้เหมาะสมกับพื้นที่ตั้งของบ้านด้วย เช่นบ้านสไตล์มินิมอล สไตล์โมเดิร์น สไตล์ลอฟท์ ยุโรป ญี่ปุ่นต่าง ๆตามความชอบและความสนใจของเจ้าของบ้าน ที่สำคัญคือง่ายต่อการตกแต่งภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ดูสวยงามดีเยี่ยมเลย
  • เลือกสไตล์บ้านให้เหมาะกับขนาดของเนื้อที่ เช่นเนื้อที่ในการสร้างบ้านมีขนาดใหญ่มาก ก็ควรที่จะเลือกสไตล์ที่ไม่เรียบง่ายจนเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดพื้นที่โล่งกว้างเกินไปในตัวบ้าน หรือหากเพื่อน ๆคนไหนมีพื้นที่บ้านกว้างแต่ชอบสไตล์แบบเรียบง่าย ก็สามารถนำสไตล์อื่นๆ ที่ดูมีลูกเล่นนิดหน่อยมาผสมผสานเข้าด้วยกันก็ได้ ถือเป็นการออกแบบบ้านที่ดีเลยทีเดียว
  • เลือกวางตำแหน่งของบ้านให้เหมาะสมกับทิศทางของแสงแดดและลม แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่จะทำให้ตัวบ้านสมบูรณ์แบบคือ ฮวงจุ้ยเรื่องที่ตั้งของบ้านและทั้งเฟอร์นิเจอร์ด้วยนะ ควรเลือกทิศทางของประตูหน้าบ้าน หน้าต่าง ระเบียงให้แหมาะกับทิศทางของลม ดังนั้นควรสร้างห้องที่ต้องการแสงแดด หรือห้องที่แลดูจะมีความชื้นมากให้หันไปทางแสงแดด พร้อมทั้งมีประตู หน้าต่างเพื่อช่วยให้แสงแดด และลมรอดผ่านเข้ามากำจัดความชื้นกับความมืดมิดออกไปด้วย
  • ออกแบบบริเวณบ้านให้ระบายอากาศ ถ่ายเทได้ดี นอกจากข้างในตัวบ้านที่ควรคำนึงถึงทิศทางลม และ แสงแดดแล้ว ยังมีบริเวณรอบ ๆบ้านที่ต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วยเหมือนกัน โดยดูว่าทางเดิน สวนหย่อม จุดพักผ่อน ต้นไม้ต่างๆ ควรวางในมุมไหนจึงจะเหมาะสม และไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ติดระเบียงและหน้าต่าง เพราะอาจจะทำให้ความสูงของต้นไม้ไปบดบังทิวทัศจนในบ้านดูมืดมิดได้
  • การจัดสรรขนาดพื้นที่แต่ละส่วนให้เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบบ้าน โดยการจัดวางขนาดของพื้นที่แต่ละห้อง และจุดวางเฟอร์นิเจอร์แต่ละจุดให้ลงตัว ช่วยให้บ้านดูไม่รก และเป็นระเบียบแบ่งสัดส่วนได้ดีมากขึ้น
  • การออกแบบบ้านที่ดีจะต้องคำนึงถึงการป้องกันเสียงรบกวนจากนอกบ้าน โดยเจ้าของบ้านต้องกำหนดเองว่าห้องไหน สถานที่ส่วนไหนของบ้านไม่ควรมีเสี่ยงรบกวนภายนอก เช่นห้องนอนที่ติดกับหน้าบ้าน อาจจะทำให้นอนไม่หลับเนื่องจากเสียงรบกวนของรถตอนกลางคืนได้
  • คำนึงถึงอนาคตและคนในบ้าน เนื่องจากบางคนไม่ได้สร้างบ้านเพื่ออยู่คนเดียว แต่ยังมีสมาชิกในครอบครัวอย่างเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงควรออกแบบทุกส่วนในบ้านให้เอื้ออำนวยแก่สมาชิกในบ้าน รวมไปถึงตัวเองตอนอายุมากขึ้นด้วยนะ

ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะเป็นแนวทางสู่บ้านในฝัน

ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะเป็นแนวทางสู่บ้านในฝัน

หากผู้อ่านต้องการสร้างบ้านหลังใหญ่เน้นความสวยงาม การออกแบบด้วยสถาปนิกนั้นนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างบ้าน สถาปนิกที่เก่ง จะช่วยแก้ปัญหาการจัดสรรพื้นที่ ช่วยให้บ้านของเราสวยงาม มีสไตล์ แถมยังอยู่สบายสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของผู้อาศัยในบ้าน แต่หากต้องการสร้างบ้านหลังเล็ก เน้นการอยู่อาศัยอย่างง่าย การออกแบบบ้านด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำได้ บ้านราคาล้านต้นๆ

จุดสำคัญคือการสื่อสารกับช่างก่อสร้างให้ได้ทราบถึงความต้องการของเราเอง และวิธีการสื่อสารที่ง่ายที่สุดในการสร้างบ้าน นั่นคือการวาดแปลนบ้านนั่นเอง ขอนำหลักการออกแบบบ้านด้วยตนเองอย่างง่าย โดยจะเน้นไปถึงการจัดสรรพื้นที่ พร้อมกับวาดผังแปลนภายในบ้านด้วยตนเอง เพื่อนำแปลนดังกล่าวไปให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง หรืออาจส่งต่อให้สถาปนิกเขียนแบบแปลนมาตรฐาน

กำหนดสไตล์ : การเลือกสไตล์ของบ้าน เป็นการกำหนดขอบเขต เป้าหมาย เพื่อให้จินตนาการของความต้องการมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้อ่านอาจขับรถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ พักรีสอร์ท เยี่ยมบ้านเพื่อน หรือหากให้สะดวกหน่อยก็เพียงคลิกเข้าชมเว็บไซต์บ้านไอเดีย ตัวอย่างบ้านเหล่านี้เราสามารถนำมาประยุกต์ กำหนดแนวทางการออกแบบบ้านในฝันของเราได้ แต่ต้องขอย้ำให้ทราบกันก่อนว่า 

เราสามารถนำดีไซน์มาประยุกต์ใช้ได้ แต่ไม่สามารถไปลอกแบบได้นะ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้าน หรือ เจ้าของแบบโดยตรง โดยปกติแล้วสไตล์ของบ้านมีค่อนข้างหลากหลาย ทั้งไทยประยุกต์ , Vintage , Loft , Minimal , Tropical , หรือ อาจเลือกเอกลักษณ์ของบ้านจากต่างประเทศ เช่น บ้านสไตล์ทัสคานี เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องเป๊ะ เราอาจผสมผสานรวมแต่ละสไตล์ เลือกจุดที่ชอบนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้กลายเป็นสไตล์ของเราเองได้เช่นกัน

เขียนความต้องการลงไป : ก่อนการออกแบบสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก คือการวิเคราะห์ความต้องการ ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องพูดคุยกันทั้งครอบครัว มีสมาชิกกี่คน อยากได้อะไรบ้าง อยากได้แบบไหน มีเฉลียง ชานระเบียง มีกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ เป็นคนชอบทำครัวหรือไม่ ห้องนั่งเล่น ห้องดูทีวี ห้องทำงานโจทย์เหล่านี้ แต่ละบ้านย่อมมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะความต้องการหลักพื้นฐาน เช่น จำนวนห้องนอน ห้องน้ำ เป็นต้น

กำหนดขนาด : เมื่อทราบความต้องการแล้ว กำหนดขนาดพื้นที่ใช้สอยของแต่ละห้องลงไป อยากให้กว้าง ยาว กี่เมตร การกำหนดขนาดแต่ละห้องจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์หาพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมดได้ ผลวิเคราะห์นี้จะทำให้การออกแบบบ้านชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้เราทราบอีกว่า เราควรสร้างบ้านกี่ชั้นถึงจะเหมาะสม หากมีที่ดินอยู่แล้วจำเป็นต้องออกแบบให้สอดคล้องกับที่ดิน แต่หากยังไม่มีที่ดิน การกำหนดขนาดพื้นที่ใช้สอย จะทำให้เราหาซื้อที่ดินได้ตามขนาดที่ต้องการ การกำหนดขนาดนี้ยังสามารถนำไปอิงกับการประมาณราคาก่อสร้างได้อีกด้วย

กำหนดตำแหน่ง ทิศทาง : การออกแบบผังบ้านที่ดีควรออกแบบให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ต่อเติมครัว เพื่อให้การอยู่อาศัยภายในบ้านเป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด  โดยรวมแล้วจะคำนึงถึงทิศทางของแสงแดด และทิศทางลม โดยแสงแดดจะส่องมากในทิศตะวันตก ทิศใต้ ห้องที่ต้องการแสงมาก เป็นห้องที่ต้องการกำจัดความชื้น เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักล้าง ส่วนห้องที่ต้องการแสงเพียงพอเหมาะ เช่น ห้องนอน , ห้องนั่งเล่น , ห้องทำงาน , ห้องดูหนัง เพราะหากแสงมากเกินไปอาจหมายถึงความร้อนที่มากขึ้นเช่นกัน