ปรับปรุงบ้าน
ปรับปรุงบ้าน
ปรับปรุงบ้าน ให้โมเดิร์นแสงสวย ด้วยเหล็กฉีกและบล็อกช่องลมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัวลาลัมเปอร์ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบบ้านแฝดเป็นบรรทัดฐานเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว แม้ว่าบ้านเรือนจะถูกสร้างขึ้นโดยมีพื้นที่กลางแจ้งค่อนข้างกว้างขวาในแต่ละแปลง แต่ปัญหาที่พบเหมือน ๆ กันคือ การแบ่งพื้นที่กลางแจ้งและในร่มให้ตัดขาดออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้การใช้งานไม่ไหลลื่น ภายในบ้านยังรู้สึกมืด ทึบ ขาดแสงธรรมชาติ เมื่อสถาปนิก Eleena Jamil มีโอกาสปรับปรุงหนึ่งในยูนิตเหล่านี้ จึงพยายามสร้างการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นของการตกแต่งภายในบ้านกับบริเวณโดยรอบ ใช้ประโยชน์จากลักษณะทางธรรมชาติของไซต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด click here
ปรับปรุงบ้านให้ทันสมัย
“แนวคิดตั้งแต่แรกคือต้องนำแสงเข้าให้ได้มากที่สุด มีช่องเปิดมากมาย และใช้ประโยชน์จากความเป็นส่วนตัวของสวนหลังบ้านอย่างเต็มที่” นักออกแบบ Eleena อธิบาย และยังมองว่าบ้านมีศักยภาพที่จะกลายเป็นบ้านหลังใหญ่และสวยโดยไม่ต้องทำอะไรมาก จุดเริ่มต้นของการปรับปรุงบ้านคือการแทรกสนามหญ้าเพื่อให้ ‘แสง’ และ ‘อากาศ’ เข้ามาในพื้นที่ลึก ๆ ของบ้านที่ชั้นล่างมากขึ้น ต่อมาก็ย้ายประตูทางเข้าหลักเพื่อสร้างรูปแบบที่เปิดกว้างและลื่นไหลมากขึ้น เชื่อมต่อกับคอร์ทยาร์ดได้ทุกทาง ท้ายสุดคือต่อเติมส่วนต่อขยายสี่เหลี่ยมแบบเรียบง่ายหลังบ้าน เพื่อใช้เป็นห้องครัวและพื้นที่รับประทานอาหารที่หันไปทางสวนหลังบ้าน
จากนี้ พื้นที่ภายในถูกเปิดออกโดยการถอดชิ้นส่วนของผนังและพื้นภายในที่มีอยู่ออก เชื่อมต่อพื้นที่กลางแจ้งและในร่ม เนื่องจากเอลีน่ามีงบประมาณจำกัด เธอจึงต้องพิจารณาวัสดุที่เรียบง่ายและราคาถูก แต่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประตูบานเลื่อนจะใช้ประตูพับเหล็กอ่อนที่ออกแบบเป็นพิเศษพร้อมแผงตาข่ายเหล็ก นอกจากนี้ ผนังทึบอื่นๆ ยังถูกแทนที่ด้วยบล็อกคอนกรีตเจาะรู เพื่อให้แสงธรรมชาติและอากาศไหลเข้ามาในบ้านมากขึ้น ซึ่งจุดนี้ก็ส่งผลให้พื้นที่สว่างขึ้นและสามารถสังเกตกิจกรรมและโลกธรรมชาติภายนอกได้ ในขณะที่ยังมีความเป็นส่วนตัว เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่น่าสนใจของบ้านด้วย
แผงเหล็กเหล่านี้มีอยู่รอบด้าน สามารถใช้งานเปิดออกได้กว้างหรือปิดได้ตามต้องการ ทำให้การแบ่งระหว่างพื้นที่ภายนอกและภายในลดลง สามารถเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างไม่ขาดตอน แม้ว่าจะประตูปิดอยู่ก็ตาม ความโปร่งและความต่อเนื่องระหว่างบ้านกับคอร์ทยาร์ดที่เต็มไปด้วยแสงให้ความรู้สึกเหมือนอยู่กลางแจ้ง ไม่น่าแปลกใจเลยที่บริเวณนี้เป็นส่วนโปรดของสถาปนิกในบ้าน
ด้านหลังมีการสร้างครัวแบบเปิดและพื้นที่รับประทานอาหาร ตรงจุดนี้เป็นส่วนต่อขยายของบ้านเดิมที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังปิดล้อมด้วยแผงพรุนและบล็อกคอนกรีตที่คล้ายกับส่วนอื่น ๆ ของบ้านแล้ว บริเวณนี้ยังปิดโล่งได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม บริเวณนี้ก็มีความเป็นส่วนตัวสูงเพราะล้อมรอบด้วยความลาดชันและกำแพงหินเกเบี้ยนที่ค่อนข้างสูง ในครัวสถาปนิกใช้เสาเหล็กรูปตัว Y รับน้ำหนักอยู่ภายใน เพื่อให้แผงตาข่ายที่มีกรอบสามารถเลื่อนเปิดได้อย่างไหลลื่น ถัดจากกำแพงหินนี้ไปจะเป็นภูมิประเทศที่เป็นเนินเขา ซึ่งมีต้นไม้ที่ออกผลในท้องถิ่นซึ่งดึงดูดสัตว์ป่า เช่น ลิง กระรอก และฝูงหมูป่าเป็นครั้งคราว
การเพิ่มม้านั่งคอนกรีตยาวเตี้ยๆ ทำหน้าที่เป็นพื้นที่นั่งเล่นสนทนาและเพลิดเพลินกับความเขียวขจีได้ และยังตอกย้ำความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร ตัวม้านั่งเป็นคานคอนกรีตยื่นออกมาและมีความหนาน้อยกว่า 100 มม. ซึ่งเป็นผลงานทางวิศวกรรมที่โดดเด่น ทำให้ม้านั่งดูเหมือนลอยอยู่เหนือพื้นอย่างน่าสนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับการตกแต่งภายในที่มืดมิดและเหมือนเขาวงกตแบบเดิมแล้ว จะพบว่าการจัดเรียงผนังใหม่และความโปร่งใสของพาร์ติชั่นเปลี่ยนแปลงบรรยากาศไปอย่างมาก และนำอากาศบริสุทธิ์มาสู่บ้านอายุ 25 ปี เนื่องจากบ้านวังสาตั้งอยู่ในเขตร้อน จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะเห็นว่าการใช้วัสดุที่มีรูพรุนแบบร่วมสมัยนั้น ส่งผลให้ทั้งภายในเย็นขึ้นและใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้นผนังบล็อกช่องลมสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เป็นเสมือนฉากกั้นพื้นที่ชีวิตข้างหลังให้ดูลับตา
ในขณะที่ยังคงเชื่อมต่อกับส่วนอื่น ๆ ของบ้านได้แบบไม่ถูกตัดขาด ผนังแบบนี้เหมาะสำหรับการนำมาเป็นองค์ประกอบของบ้านเขตร้อนชื้น เนื่องจากรูพรุนจะช่วยทำหน้าที่ควบความอุณหภูมิและความชื้นภายใน อาทิ การรับแสงผ่านช่องว่าง เปิดรับอากาศใหม่ๆ ให้ไหลเข้าไปสร้างความเย็นสบาย ลดความชื้น และกรองแสงที่รุนแรงในยามบ่าย แต่ก็ต้องระวังยุงหรือสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ที่สามารถลอดผ่านช่องว่างเหล่านี้เข้ามาในตัวบ้านได้ ต้องมองหาวิธีป้องกันไว้ด้วยบ้านจัดสรร
ปรับปรุงบ้านเก่า เปิดเพดานให้สูงโปร่ง รับแสงรับความชิล
ความเคยชินกับสิ่งหนึ่ง สร้างความไม่เคยชินให้อีกสิ่งหนึ่งอย่างอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่นคนที่เคยอยู่อาศัยในบ้านโถงสูง เมื่อต้องไปอยู่อาศัยในบ้านเพดานต่ำ ย่อมทำให้รู้สึกอึดอัดคับแคบมากเป็นพิเศษ จึงเป็นเหตุให้เจ้าของบ้านหลายหลังที่ไปซื้อบ้านเก่ามือสองที่ระดับความสูงของเพดานค่อนข้างน้อย ต้องทำการปรับปรุงใหม่ให้เพดานมีระดับที่สูงโปร่งมากขึ้น ไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อความรู้สึกโดยตรงจนเป็นอุปสรรคในการสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย
เดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านหลังเก่าที่ถูกแบ่งให้เช่ามานานแสนนาน เมื่อถึงวันเวลาที่เหมาะสมเจ้าของบ้านคนใหม่ได้ปรากฏตัวขึ้น จึงต้องทำการปรับเปลี่ยนอารมณ์ภาพรวมของบ้านใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมือนในอดีต โดยที่ยังคงความคลาสสิคดั้งเดิมในบางส่วนไว้ ให้บ้านกลมกลืนไปกับชุมชนเดิมและไม่สร้างความแปลกแยกจนเกินไป
ดีไซน์ด้านหน้าเป็นบ้านมีหน้าจั่วแบบร่วมสมัย ก่ออิฐแดงโชว์เส้นสายและสีสันของวัสดุได้อย่างเด่นชัด ประตูทางเข้าบ้านอยู่ตรงกลาง เดินผ่านทางเดินทะลุไปจนถึงโซนด้านหลังซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้ทำการปรับปรุงให้มีความสมัยใหม่มากยิ่งขึ้น
ระหว่างทางเดินที่ผ่านมาถึงพื้นที่ส่วนรวม ด้านซ้ายและขวาคือห้องนอนของสมาชิกแต่ละคน เหตุผลที่จัดห้องนอนไว้ในโซนด้านหน้า เป็นเพราะผังดั้งเดิมได้ทำการจัดไว้เช่นนั้น และเจ้าของบ้านคนใหม่ก็ไม่ได้มีความต้องการในการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งข้อดีของการจัดห้องแฟมิลี่ไว้โซนหลังสุด ทำให้ทุกคนสามารถใช้งานร่วมกันไปพร้อมกับการได้ใกล้ชิดกับสวนหลังบ้านอย่างเสมอภาคอีกด้วย
เพดานในห้องแฟมิลี่มีระดับความสูงที่มากกว่าโซนห้องนอน มีช่องแสงจากด้านบน ด้านข้างและด้านหลัง กระจายไปทั่วทั้งบริเวณ ประกอบกับการจัดผังแบบ Open Plan ที่ทำการเชื่อมโยงพื้นที่มุมต่าง ๆ เอาไว้รวมกันโดยไม่มีการก่อผนังมาปิดกั้น แสงธรรมชาติจึงครอบคลุมและเพียงพอต่อความต้องการ
ช่องหน้าต่างบานเกล็ดทรงสูง ไม่เพียงแค่รับแสงสว่างเข้ามาเท่านั้น ยังเป็นตัวช่วยในการรับลมและกระตุ้นการหมุนเวียนของอากาศภายในบ้านให้ลื่นไหลขึ้นอีกด้วย
ภายในบ้านหลังนี้มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 199 ตารางเมตร ถือว่าเป็นบ้านขนาดกลางที่เหมาะครอบครัวที่มีสมาชิกไม่เกิน 5 คนอาศัยอยู่ร่วมกัน การตกแต่งจึงเน้นไปที่โทนสีอบอุ่น สีขาว สีน้ำตาล เสริมด้วยเฟอร์นิเจอร์สไตล์ Mid-Century มีความย้อนยุคปะปนอยู่ในความโมเดิร์น
แม้จะได้ทำการปรับปรุงใหม่ แต่ก็ยังนำอิฐแดงมาใช้ในการตกแต่ง จุดประสงค์เพื่อให้มีความเชื่อมโยงกันกับดีไซน์หน้าบ้าน ทำให้บ้านที่มีรูปลักษณ์ทันสมัยขึ้นดูอ่อนละมุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างที่ตั้งใจ
หลังคาตรงระเบียงนั่งเล่น ไม่จำเป็นต้องทำการดีไซน์ให้ปิดทึบเท่านั้น สามารถเปิดช่องบางส่วนแบบไร้หลังคาได้ด้วย เพื่อใช้เป็นช่องรับแสงจากท้องฟ้า พื้นที่ตรงระเบียงไม่มืดทึบจนเกินไป เหมาะกับการออกมานั่งเล่นชมบรรยากาศนอกบ้านมากขึ้น แต่หากกังวลไม่อยากดูแลมากในฤดูฝน ก็สามารถเลือกใช้หลังคาโปร่งแสงได้เช่นกัน
5 ข้อควรรู้ก่อนรีโนเวตบ้านเก่าทั้งหลัง
ในสังคมยุคดิจิทัล เจ้าของบ้านส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า ซื้อบ้าน รวมถึงปรับปรุงบ้าน ซึ่งจากสถิติการค้นหาใน Google trends พบว่าในปีพ.ศ. 2563 คำว่า ‘รีโนเวทบ้าน’ มีการค้นหาสูงที่สุดในรอบ 5 ปี1 สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในการรีโนเวทบ้านที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันเศรษฐกิจที่ยังทรงตัว ทำให้ผู้บริโภคอาจลังเลที่จะซื้อบ้านหลังใหม่ ดังนั้นการรีโนเวทบ้านจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์ทั้งเรื่องการปรับปรุงพื้นที่ให้มีฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะกับสมาชิกในครอบครัว เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หรือคนวัยทำงาน การปรับดีไซน์บ้านหลังเก่าให้มีชีวิตชีวามากขึ้น รวมถึงต่อเติม หรือซ่อมแซมบ้านให้มีสภาพที่ดี “เอสซีจี” ในฐานะผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างครบวงจร จึงได้รวบรวม 5 ข้อสงสัย ที่เจ้าของบ้านอยากรู้เมื่อต้องการรีโนเวทบ้าน พร้อมแนะนำทริคดีๆ ที่จะทำให้การรีโนเวทบ้าน
ไม่วุ่นวาย ไม่มีปัญหากวนใจภายหลัง และได้บ้านที่ตรงใจมากที่สุด
1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการรีโนเวตบ้านเก่า
ควรกำหนดวัตถุประสงค์ในการรีโนเวตบ้านให้ชัดเจน เช่น ปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัยของสมาชิกในบ้าน ปรับปรุงให้บ้านสวยงามน่าอยู่มากขึ้น ปรับเปลี่ยนสไตล์ของบ้าน ไปจนถึงปรับปรุงโครงสร้างบ้านให้แข็งแรงกว่าเดิม โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ในการรีโนเวตจะช่วยให้กำหนดงบประมาณในการปรับปรุงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
ก่อนที่จะเริ่มทำอะไร เราควรกำหนดวัตถุประสงค์หรือสิ่งที่อยากจะรีโนเวทบ้านออกมาทั้งหมด ซึ่งหลายคนก็จะมีสิ่งที่อยากรีโนเวทในใจอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะมีสิ่งที่อยากทำเพิ่มเติมขึ้นมาอีก เพราะการต่อเติมหรือปรับปรุงบ้านหลายๆ ครั้ง นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังอาจกระทบต่อโครงสร้างของบ้านได้
สิ่งที่อยากแนะนำให้คุณทำ คือ “การกำหนดวัตถุประสงค์” ก่อน เช่น ต้องการปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมกับสมาชิกในบ้าน (อาจมีผู้สูงอายุเข้ามาอาศัยด้วย มีเด็กเล็ก หรือมีสมาชิกใหม่) ต้องการปรับเปลี่ยนสไตล์ของบ้าน ต้องการปรับปรุงให้บ้านน่าอยู่ยิ่งขึ้น หรือต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น ฯลฯ เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ได้แล้ว ก็ทำรายการว่า อยากได้/อยากรีโนเวทอะไรบ้าง เช่น เพิ่มห้อง เพิ่มบันได ทำรั้วใหม่ ทำสวนใหม่ ทาสี ฯลฯ ทีนี้ คุณก็จะพอประเมินได้ว่า จำเป็นต้องใช้งบประมาณเท่าไรเพื่อที่จะรีโนเวทบ้านที่ต้องการ บ้านจัดสรร
2. ตรวจสอบสภาพพื้นที่
ไม่ว่าจะเป็นการรีโนเวตบ้านทั้งหลังหรือเพียงบางส่วนของบ้าน ควรตรวจสอบตัวบ้านและพื้นที่รอบบ้านให้ดีเสียก่อน เริ่มตั้งแต่สำรวจสภาพโครงสร้างเดิมของบ้านซึ่งจะช่วยให้ตัดสินใจในการปรับปรุงบ้านได้ เช่น โครงสร้างเดิมจะรับน้ำหนักส่วนที่ปรับปรุงได้หรือไม่ หรือควรทุบแล้วสร้างใหม่จะคุ้มค่ากว่า รวมถึงควรตรวจสอบงานระบบทั้งระบบไฟฟ้าและประปาอีกด้วย
การตรวจสอบสภาพพื้นที่ของบ้าน ควรเลือกใช้บริการรับรีโนเวตบ้านแบบครบวงจร เพื่อช่วยให้การปรับปรุงพื้นที่บ้านให้เหมาะสมกับสภาพเดิมของบ้าน ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการรีโนเวตบ้าน ได้บ้านที่แข็งแรง ทนทาน ไม่ต้องกังวลเรื่องความเสียหายในระยะยาวอีกด้วย
3. ศึกษากฎหมาย
ก่อนเริ่มรีโนเวตบ้านควรศึกษากฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ ให้รอบคอบเสียก่อน เนื่องจากการปรับปรุงต่อเติมบ้านถือเป็นการดัดแปลงอาคาร ที่ต้องขออนุญาตในการก่อสร้างทางกฎหมายเพื่อความปลอดภัยในการปรับปรุงบ้านและไม่กระทบต่อเพื่อนบ้านที่อยู่โดยรอบ
4. วางแผนให้ชัดเจน
หลังจากตรวจสอบสภาพพื้นที่ โครงสร้างบ้าน และข้อกฎหมายเรียบร้อยแล้ว ควรวางแผนการรีโนเวตบ้านให้ชัดเจน ทั้งแปลนบ้าน สไตล์การตกแต่งเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ และควรวางแผนงบประมาณที่จะใช้ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันงบประมาณบานปลาย โดยควรเผื่อค่าใช้จ่ายไว้ประมาณ 20-30% เผื่อกรณีที่มีความผิดพลาด หรือปัญหาใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทำให้การดำเนินงานสะดุดได้
5. ใช้บริการรับรีโนเวตบ้านแบบครบวงจร
ควรเลือกใช้บริการรีโนเวตบ้านแบบครบวงจรที่เป็นมืออาชีพและไว้ใจได้ ที่ใส่ใจทั้งเรื่องงานออกแบบ สวยงาม พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ ตั้งแต่เริ่มงานจนจบ ถึงแม้จะใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่า แต่เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพและความสบายใจ นอกจากการเลือกช่างให้ดีแล้ว ควรทำสัญญาและใส่รายละเอียดให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันงานล่าช้าหรือไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควรบ้านจัดสรร