บ้านหน้าแคบลึก
บ้านหน้าแคบลึก
บ้านหน้าแคบลึก “ชอบสีขาวและส่วนโค้ง” ไม่น่าเชื่อว่าโจทย์ของบ้านเพียงแค่นี้จะสร้างแรงบันดาลใจสำหรับทีมออกแบบ ให้สร้างสรรค์บ้านตึกหลายชั้นให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ จากการพูดคุยกันตอนตี 2 ของทีมออกแบบและเจ้าของบ้าน ได้สร้างบ้านที่ใกล้เคียงกับความคาดหวังมากที่สุด เป็นอาคารสูงสีขาวดูเรียบๆ แต่แค่นี้ก็เพียงพอที่จะสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมให้กับผู้ที่ผ่านไปมาในละแวกนั้น ในระหว่างวันบ้านเหมือนกับจะละลายหายไปในแสงอาทิตย์ แต่ในเวลากลางคืนกลับส่องแสงสีอบอุ่น คลิ๊กที่นี่
บ้านหน้าแคบลึกที่ดูกว้างและโปร่งสว่าง
บ้านบนพื้นที่ 5×18 พื้นที่ประมาณ 180 ตารางเมตรในไซง่อน ประเทศเวียดนามหลังนี้ เป็นบ้านของสมาชิก 4 คน ซึ่งประกอบด้วยคู่รักหนุ่มสาวที่เพิ่งกลับจากเรียนที่ต่างประเทศและอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของพวกเขา ทั้งคู่อยากมีบ้านที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง แสดงออกถึงบุคลิกและความคิดใหม่เกี่ยวกับพื้นที่ ไลฟ์สไตล์ที่สบายได้ในพื้นที่แบบบ้านแถวหน้าแคบลึกผนังติด ๆ กับเพื่อนบ้าน
หากใครที่เคยอยู่อาศัยในตึกแถวจะรู้ดีว่า ด้วยผนังที่ติดกับบ้านอื่นทั้งสองด้าน (ยกเว้นแปลงหัวมุม) ทำให้เหลือพื้นที่รับแสงได้จากด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น ระหว่างชั้นก็ยังมีพื้นเพดานเทปิดแยกสัดส่วนชัดเจน มีเพียงโถงบันไดที่เป็นจุดโล่งที่สุด ทำให้ภายในมีความมืดและอับ อากาศไม่ถ่ายเทเท่าที่ควร ภายในบ้านหลังนี้จึงพยายามขจัดข้อจำกัดเรื่องนี้ก่อน โดยการเจาะเพดานบ้านให้เป็นโถงสูง ใส่หน้าต่างขนาดใหญ่กินพื้นที่หลายเมตร และมีสกายไลท์รับแสงจากด้านบน
มุมมองจากชั้น 3 ลงมาสู่ห้องส่วนกลาง จะเห็นความสูงโปร่ง เส้นโค้ง และสีสันของไม้ โซฟาสีส้มอิฐที่อยู่ท่ามกลางบริบทสีขาวได้อย่างชัดเจน เส้นโค้งที่ผสมผสานกับวัสดุหลักเป็นหินขัดและเอฟเฟกต์แสงจากหน้าต่างบานใหญ่ ช่วยสร้างพื้นที่ใช้สอยที่นุ่มนวลและโปร่งสบาย แต่ให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นกันเอง (แม้ความสูงที่มากเกิน 2 ชั้นจะทำให้คนกลัวความสูงหวิว ๆ สักหน่อย) เนื่องจากเชื่อมต่อกับสมาชิกทุกคนในครอบครัวผ่านโถงสูงได้หมดตั้งแต่ชั้นบนถึงชั้นล่าง
สองด้านของบ้านติดตั้งบันไดแบบหักกลับสลับกันด้านซ้ายขวาในแต่ละชั้น ทำให้เกิดเป็นบ้านแบบเล่นระดับสามารถสร้างชานพักใหญ่ ๆ ระหว่างชั้นบันไดให้กลายเป็นชั้นลอย แล้ววางฟังก์ชันใช้งานห้องนั่งเล่นพักผ่อนดูทีวีหรือจุดชมวิวลงไป
การเรียงฟังก์ชันใช้งานจะเริ่มจากส่วนที่เป็นพื้นที่สาธารณะ มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดอยู่ที่ชั้นล่าง ประกอบด้วยครัว ห้องทานข้าว และห้องนั่งเล่นที่เปิดทะลุถึงกันได้หมด ไม่มีส่วนแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อย ทำให้บ้านมีพื้นที่เปิดไหลลื่นในแนวนอน ประกอบกับประตูบ้านที่เปิดออกได้กว้างจนสุดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ช่วยลดความรู้สึกคับแคบของอาคารที่กว้างเพียง 5 เมตรได้อย่างดี ส่วนอื่นๆ ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น อย่างเช่น ห้องดูทีวี ห้องนอน จะกระจายตัวอยู่ตามชั้นด้านบน เพื่อให้พักผ่อนได้แบบสงบๆ
วงกบประตูหน้าต่างที่ถูกลบมุมออก กลายเป็นช่องเปิดมุมมนที่หาได้ยากในบ้านทั่วไป และแน่นอนว่าช่างต้องมีฝีมือในการฉาบตกแต่ง รวมถึงวงกบและประตูไม้ก็ไม่ง่ายเช่นเดียวกัน ถ้าไม่เนี๊ยบงานนี้ก็จะไม่สวยงามแน่นอน
ความสุขสุดฟินกับบรรยากาศกลางแจ้งในห้องน้ำที่มีสวนเล็กๆ จัดอยู่ด้วย ทำให้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในการใช้ชีวิตบนตึกที่ไม่เหมือนใคร แสดงให้เห็นความใส่ใจในความสำคัญของการมีธรรมชาติอยู่ใกล้ตัว โดยแทรกอยู่ตามมุมบ้าน ห้องต่างๆ และบนดาดฟ้า เพิ่มชีวิตชีวาให้บ้านไม่ให้แข็งกระด้างเกินไป
บ้านหลายชั้นเนื้อที่แคบและลึก เหมาะจะจัดแปลนภายในแบบเล่นระดับ (Split Level) ที่มีลักษณะพื้นที่ใช้สอยภายในลดหลั่นกัน จากการเทพื้นให้มีการเหลื่อมของพื้นที่ ซึ่งจะช่วยแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วนโดยไม่มีพื้นเพดานหรือผนังปิดทึบจึงไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด สร้างพื้นที่ว่างใจกลางอาคารให้แสงและอากาศไหลเวียนภายใน ลดข้อจำกัดของบ้านหน้าแคบได้ดี นอกจากในเรื่องการใช้งานแล้ว บ้านเล่นระดับยังทำให้บ้านมีมิติของพื้นที่ใช้งาน ดูน่าสนใจกว่าการวางที่เที่ยวสุราษฎร์ธานี
บ้าน 3 ชั้น เหมาะกับใคร
จำนวนชั้นของบ้าน เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณา และยังบอกได้ว่าบ้านที่ต้องการซื้อนั้นเหมาะกับการอยู่อาศัยหรือไม่ โดยปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยให้เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งเป็นเทรนด์หลังจากการมาของโควิด-19 ด้วยความที่บ้าน 3 ชั้น มีความโดดเด่นในเรื่องพื้นที่ใช้สอยที่มีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ได้รับความสนใจ โดยบ้าน 3 ชั้น เหมาะกับคนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่มากยิ่งขึ้น และอื่น ๆ ตามเช็กลิสต์ 10 ข้อ ดังต่อไปนี้บ้าน 3 ชั้น
1. เคยอยู่อาคารพานิชย์มาก่อน ชินกับการอยู่อาศัยหลายชั้น
2. ต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ช่วงที่ต้อง Work From Home
3. ต้องการความเป็นส่วนตัว เป็นสัดเป็นส่วน อยู่กันละชั้น
4. ครอบครัวใหญ่ จำนวนสมาชิกอาศัยอยู่ร่วมกันหลายคน
5. ต้องการจำนวนห้องที่เพียงพอกับจำนวนสมาชิก เช่น ห้องนอน 3 ห้อง หรือมากกว่า
6. รองรับครอบครัวขยาย จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นในอนาคต
7. ไม่มีผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ด้วย เพราะการขึ้นลงบ้าน 3 ชั้น ทำได้ลำบาก
8. หากมีผู้สูงอายุ ต้องมีห้องนอนผู้สูงอายุชั้นล่าง สามารถปรับเปลี่ยนได้
9. เปิดบริษัททำธุรกิจ ปรับเปลี่ยนบ้าน 3 ชั้น เป็นออฟฟิศ สำนักงาน
10. มีงบประมาณ บ้าน 3 ชั้น ส่วนใหญ่ราคาแพง และอยู่ในทำเลเมือง