แบบบ้านชั้นเดียวใหม่ล่าสุด
Contents
แบบบ้านชั้นเดียวใหม่ล่าสุด
แบบบ้านชั้นเดียวใหม่ล่าสุด ทำไม แบบบ้านชั้นเดียวจึงครองใจคนอยากมีบ้าน ? คำตอบที่ได้อาจมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการตอบโจทย์การใช้งานของคนทุกวัย โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยจากการเดินขึ้นลงบันได อีกทั้งรูปทรงที่ไม่ใหญ่จนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใดที่ใช้ในการตัดสินใจสร้างบ้านชั้นเดียว จุดสำคัญอยู่ที่การเลือกรูปแบบ เลือกดีไซน์ให้เหมาะกับการใช้งานจริง และบริบทรอบด้าน บทความนี้เอสซีจีได้รวบรวม 7 แบบบ้านชั้นเดียวที่สวย มีสไตล์ ทั้งยังเข้ากันได้กับเขตร้อนชื้นอย่างเมืองไทยมาฝากกันครับ
ก่อนจะสร้างบ้านชั้นเดียว ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ความร้อนจะเข้าสู่ภายในบ้านชั้นเดียวได้มากกว่าบ้านสองชั้นขึ้นไป เนื่องด้วยหากเป็นบ้านสองชั้น ชั้นล่างซึ่งเป็นส่วนพักผ่อนจะถูกกั้นความร้อนด้วยพื้นที่ของชั้นบน ความร้อนจากหลังคาจึงส่องลงมาไม่ถึงชั้นล่าง แต่ถ้าแบบบ้านชั้นเดียว ก็จะรับความร้อนโดยตรงจากบนหลังคา จึงจำเป็นต้องวางแผนในเรื่องการป้องกันความร้อนตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน การติดแผ่นสะท้อนความร้อน ติดตั้งฉนวน รวมถึงการปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ร่มเงา
1. บ้านอิงกาย แบบบ้านชั้นเดียวเพื่อวัยเกษียณ ผลงานการออกแบบของคุณธีรชัย ลี้สุรพลานนท์ ด้วยแนวคิด “สมดุลและผสมผสาน” ระหว่างวิถีธรรมชาติบนที่ดินแปลงใหญ่ ร่วมกับฟังก์ชันที่สะดวกสบายและมีความปลอดภัยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เจ้าของบ้านอายุ 73 ปี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่รู้สึกติดขัด
ไม่เพียงแค่คำนึงถึงฟังก์ชันการใช้งานของผู้สูงอายุ มีการออกแบบทางลาดเตรียมพร้อมไว้สำหรับรถเข็น พื้นที่ภายในบ้านของ แบบบ้านชั้นเดียวยังเน้นความปลอดโปร่งเชื่อมโยงกับลานระเบียงกลางแจ้ง เพราะผู้สูงวัยจะใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากกว่าวัยอื่น ๆ จึงต้องจัดมุมพักผ่อนไว้อย่างเหมาะสม
2. บ้านโมเดิร์นมินิมอลในเมืองกรุง ออกแบบโดย Kittiya Architects หลังคาจั่วสูงเส้นสายคมชัดตามแบบฉบับโมเดิร์นมินิมอล ตัวบ้านมีการยกพื้นสูงตั้งไว้บนเสาคอนกรีตทรงกลม เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน ทั้งยังช่วยระบายความชื้นใต้อาคารได้เป็นอย่างดี จึงหมดห่วงเรื่องความชื้น คุมธีมภายนอกด้วยสีขาวสว่างทำให้เป็นแบบบ้านชั้นเดียวที่ดูเบาสบาย และตกแต่งภายในด้วยสีเอิร์ธโทน ขาว เทา น้ำตาล เพื่อเพิ่มบรรยากาศที่อบอุ่น เป็นกันเอง
พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านประมาณ 280 ตารางเมตร จัดฟังก์ชันแบบ Open Plan ที่เชื่อมโยงพื้นที่ทุกส่วนเอาไว้ร่วมกันอย่างอบอุ่น และจัดภูมิทัศน์ภายนอกให้ร่มรื่นเขียวขจีอย่างต้องการ เอื้อต่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังช่วยกรองมลพิษทั้งฝุ่น ทั้งควันไม่ให้เข้าสู่ภายในบ้านมากเกินไปด้วย ตอบโจทย์ยุคที่ PM 2.5 กำลังครองเมือง
3. บ้านยกพื้น อารมณ์ชนบท เพื่อให้บ้านใกล้ชิดกับธรรมชาติและวิถีชนบทของชุมชน แบบบ้านจึงเป็นแบบบ้านชั้นเดียวที่สร้างใหม่ จึงสร้างขึ้นด้วยการนำวัสดุที่เป็นไม้มาใช้กับส่วนต่าง ๆ ของบ้าน เพื่อให้มีความกลมกลืนและดูเป็นมิตรกับบริบทรอบด้าน ตัวอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากจะช่วยปรับระดับของพื้นให้เสมอกันแล้ว ยังช่วยกันความชื้นจากดินไม่ให้ส่งผ่านไปยังภายในบ้านได้อีกด้วย
นอกจากการใช้ไม้มาทำการตกแต่งผนังแล้ว ยังทำการดีไซน์ฟาซาดไม้ด้านหน้าให้มีฟังก์ชันเลื่อนเปิดปิดได้ ทำหน้าที่ในการปกปิดพรางสายตา ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับหน้าบ้านอีกชั้น และขณะเดียวกันก็ยังสามารถรับแสง รับลมเข้าสู่ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี
4. บ้านอิฐรักธรรมชาติ สภาพอากาศเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเรา จำเป็นต้องออกแบบบ้านชั้นเดียวให้มีการถ่ายเทอากาศได้อย่างสะดวก เพื่อคลายความร้อนที่สะสมอยู่ภายในบ้านให้ออกไป ผลงานการดีไซน์ของ Natura Futura ออกแบบอาคารชั้นเดียวยกสูงลอยจากพื้นเล็กน้อย แบ่งจัดสรรพื้นที่ใต้หลังคาบางส่วนให้เป็นแบบกึ่งภายนอก-ภายใน เป็นหลักคิดที่ต้องการเชื่อมโยงธรรมชาติมาไว้กับพื้นที่พักผ่อนอย่างใกล้ชิด
ทั้งยังมีการเจาะช่องแสงบนหลังคา รับแสงสว่างจากพระอาทิตย์ในกลางวัน และในตอนกลางคืนแสงของพระจันทร์ที่สาดส่องลงมาสู่พื้นที่คอร์ทยาร์ดที่จัดไว้ ยังเพิ่มบรรยากาศที่แสนจรรโลงใจให้กับการพักผ่อน ไม่เพียงเท่านี้ยังใส่สวนน้ำตกลงไปเป็นองค์ประกอบหนึ่ง สร้างความสงบให้เกิดขึ้นโดยอิงแอบความเป็นธรรมชาติไว้มากที่สุด
5. บ้านชานกว้าง อารมณ์ร่วมสมัย ผลงานการออกแบบของ kikuchihiro แสดงออกถึงความเรียบง่ายที่เข้าถึงได้ไม่ยาก เน้นชานระเบียงกลางแจ้งกว้าง ๆ เป็นพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่สันทนาการของครอบครัว คุมธีมด้วยสีเอิร์ธโทนที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน แบบบ้านชั้นเดียวแบบนี้ก็ไม่ล้าสมัย หลังคาบ้านทรงปั้นหยา รองรับสภาพอากาศทั้งร้อนและฝนได้อย่างยอดเยี่ยม
ความปลอดโปร่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะเพดานสูงเท่านั้น ด้วยการเลือกใช้ประตูกระจกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้เกิดความสว่างตามธรรมชาติ กลางวันจึงไม่ต้องเปิดไฟเยอะ หรือในช่วงวันที่อากาศดี ๆ สามารถเปิดประตูรับลม นั่งชมบรรยากาศภายนอกได้อย่างเพลิดเพลินใจ แต่หากต้องการความเป็นส่วนตัวก็สามารถปิดม่านม้วนที่ติดตั้งไว้แล้วได้เช่นกัน
6. บ้านโคก หนอง นา โมเดล ผลงานการออกแบบจากสถาปนิก PunPlan ตอบโจทย์เจ้าของบ้านที่ต้องการทำโคก หนอง นา ให้มีธรรมชาติหมุนเวียนอยู่ในแปลงที่ดิน โดยมีแบบบ้านชั้นเดียวหนึ่งหลังเป็นองค์ประกอบสำคัญอยู่บนที่ดินแห่งนั้นด้วย สถาปนิกจึงดีไซน์โดยใช้หลังคาจั่วสูง กลมกลืนไปกับบริบทบ้านสวน ไม่แปลกแยกจากธรรมชาติจนเกินไป ทั้งยังได้ความร่วมสมัยของเส้นสายและสีสันที่อบอุ่น
นำระแนงไม้มาใส่ตีผนังด้านหน้าและด้านข้างบางส่วน เส้นสายแนวตั้งสอดรับกับความสูงของจั่วหลังคา ทำให้บ้านชั้นเดียวมีความโอ่อ่ามากยิ่งขึ้น อีกทั้งงานไม้ยังเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยทำให้บ้านกับสวนมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน
7. บ้านชั้นเดียวสไตล์ไทยประยุกต์ ผลงานการออกแบบ แบบบ้านชั้นเดียวจากเอสซีจี งามวิจิตรมีกลิ่นอายของความเป็นไทยอย่างชัดเจน นำมาประยุกต์ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยในปัจจุบัน แยกอาคารโรงจอดรถไว้อย่างเป็นสัดส่วน จัดผังพื้นที่คล้ายรูปตัว U ให้สวนเชื่อมโยงทุกอาคารไว้ด้วยกัน รูปทรงหลังคาทรงจั่วชัน มุงด้วย กระเบื้องทรงว่าว สีโอเรียนทอล บริค และออกแบบให้มีปีกชายคายื่นออกมา เพื่อกันแสงแดดและฝนสาด
อาคารที่อยู่ตรงกลาง คือพื้นที่ส่วนรวมที่สมาชิกในครอบครัวต้องมาใช้สอยรวมกัน สืบสานความสัมพันธ์ที่อบอุ่นให้คงอยู่ ส่วนพื้นที่ของห้องนอนถูกแยกสัดส่วนไว้อย่างเป็นส่วนตัวในอาคารหลังเล็ก ๆ ด้านซ้ายและขวา การพักผ่อนจึงให้บรรยากาศเหมือนกำลังอยู่ในรีสอร์ท
ลักษณะของแบบบ้านชั้นเดียว
1. โครงสร้าง
- บ้านชั้นเดียวจะมีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดอยู่บนชั้นเดียว
- โครงสร้างหลังคาจะอยู่ใกล้กับสายตามากกว่าบ้านสองชั้น
- อาจจะมีการยกพื้นบ้าน
- มักมีพื้นที่ใต้หลังคาสำหรับเก็บของ
2. รูปทรง
- รูปทรงที่พบได้ทั่วไป เช่น สี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวแอล (L) ตัวที (T) วงกลม ฯลฯ
- รูปทรงจะขึ้นอยู่กับขนาดที่ดินและความชอบของผู้อาศัย
3. สไตล์การออกแบบ
- มีหลากหลายสไตล์ เช่น โมเดิร์น คอนเทมโพรารี มินิมอล ไทยร่วมสมัย ญี่ปุ่นนอร์ดิก ฯลฯ
- การออกแบบจะเน้นความเรียบง่าย เน้นฟังก์ชั่นการใช้งาน
- เลือกใช้วัสดุที่ทันสมัยและดูแลรักษาง่าย
4. พื้นที่
- พื้นที่ใช้สอยจะขึ้นอยู่กับขนาดที่ดิน
- บ้านชั้นเดียวมักจะมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าบ้านสองชั้นที่มีขนาดที่ดินเท่ากัน
- เหมาะสำหรับครอบครัวขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
5. ข้อดี
- เหมาะกับผู้สูงอายุและผู้ที่นั่งวีลแชร์
- เด็กเล็กสามารถเล่นได้อย่างปลอดภัย
- พื้นที่ดูโปร่งโล่ง
- การก่อสร้างและดูแลรักษาง่าย
- ราคาประหยัดกว่าบ้านสองชั้น
6. ข้อเสีย
- พื้นที่ใช้สอยบนพื้นที่จำกัดอาจจะดูอึดอัด
- เสียพื้นที่ใต้หลังคา
- อาจจะดูไม่สวยงามเท่าบ้านสองชั้น
สร้างบ้านชั้นเดียว
หากพิจารณาตามจุดเด่น จุดด้อย บ้านชั้นเดียวยังคงนับเป็นอันดับหนึ่งที่ตอบโจทย์กับการใช้งานของคนทุกรุ่น ทุกวัย สอดคล้องกับสภาพร่างกายตั้งแต่วัยเด็กที่ต้องการความปลอดภัยเป็นพิเศษ วัยผู้ใหญ่ที่ต้องการความลื่นไหลคล่องตัว และวัยผู้สูงอายุที่เรี่ยวแรงลดลง จะเดินขึ้นบันไดสูง ๆ ก็ลำบาก อีกทั้งยังเป็นแบบบ้านที่ทุกห้องสามารถจัดฟังก์ชันให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติหรือสวนนอกบ้านได้ง่าย แม้จะมีข้อเสียตรงที่อากาศภายในจะร้อนกว่าบ้านหลายชั้น แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีและนวัตกรรมต่าง ๆ ได้ไม่ยากเลย
ออกแบบ : Kieron Gait
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
เช่นเดียวกับบ้านหลังนี้ เดิมที่สร้างขึ้นหลายสิบปีตั้งแต่ยุคสงคราม เมื่อเจ้าของปัจจุบันได้มาครอบครองจึงคิดที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ ให้สอดคล้องกับทั้งไลฟ์สไตล์และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากยุคก่อน จุดเด่นของบ้านคือการมีที่ดินด้านหลังเหลืออยู่ค่อนข้างกว้าง และหันไปยังทิศเหนือซึ่งสามารถพักผ่อนได้สบายตลอดทั้งวัน จึงเกิดไอเดียที่จะต่อเติมบ้านให้ยื่นออกไปด้านหลัง เพื่อใช้เป็นพื้นที่ใช้สอยของครอบครัว แบบบ้านสองชั้น โมเดิร์น 3 ห้องนอน
นี่คือปัจจัยบางประการที่ต้องพิจารณาเมื่อเลือกบ้านชั้นเดียว:
- ขนาด: คุณต้องการบ้านขนาดไหน คุณมีสมาชิกในครอบครัวกี่คน คุณต้องการพื้นที่สำหรับแขกหรือห้องทำงานหรือไม่
- งบประมาณ: คุณสามารถจ่ายค่าบ้านได้มากแค่ไหน อย่าลืมรวมค่าใช้จ่ายในการจำนอง ทรัพย์สินภาษี และประกัน
- ที่ตั้ง: คุณต้องการอาศัยอยู่ที่ไหน คุณต้องการอยู่ใกล้โรงเรียน ร้านค้า หรือสถานที่ทำงานหรือไม่
- คุณสมบัติ: คุณสมบัติใดที่สำคัญสำหรับคุณ คุณต้องการบ้านที่มีสระว่ายน้ำ โรงรถ หรือห้องใต้ดินหรือไม่